รองอำมาตย์เอก พลโท ประยูร ภมรมนตรี เป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ฝ่ายพลเรือน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นบุตรของ พันตรี พระชำนาญคุรุวิทย์ (แย้ม ภมรมนตรี) ทูตทหารประจำจักรวรรดิเยอรมัน กับมารดาที่เป็นชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นครูสอนภาษาเยอรมันให้กับนักเรียนในจักรวรรดิเยอรมันขณะนั้น ชื่อ แพทย์หญิงแอนเนลี ไฟร์
พลโทประยูร ภมรมนตรี เป็นผู้เสนอจัดตั้งโรงแรมขนาดใหญ่ เพื่อรองรับความเจริญของกรุงเทพมหานคร หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. 2496 และได้จดทะเบียนเป็นบริษัทของรัฐบาลไทย คือ บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด หรือ "โรงแรมเอราวัณ"
พลโทประยูร ภมรมนตรี เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440 ที่กรุงเบอร์ลิน จักรวรรดิเยอรมัน ขณะที่บิดารับราชการเป็นทูตทหารไทยประจำจักรวรรดิเยอรมัน โดยมีพี่ชายฝาแฝด สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงรับขวัญเมื่อยามเกิด โดยประทานชื่อให้ว่า "ประยงค์-ประยูร"
พลโทประยูรได้สมรสใหม่กับนางเรณู ภมรมนตรี (สกุลเดิม พิบูลภานุวัฒน์) รองนางสาวไทย ประจำปี พ.ศ. 2491 จึงมีบุตรชายอีก 2 คน ซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วไป คือ
พลโทประยูร ถึงแก่อนิจกรรมจากการถูกรถโดยสารประจำทางสาย 204 พุ่งชนขณะนั่งรถ ที่สี่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2525 รวมอายุ85ปี
รับราชการเป็นมหาดเล็ก ตำแหน่ง รองหุ้มแพร (เทียบเท่ายศ ร้อยโท) ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยบิดาและมารดานำเข้าเฝ้าถวายตัวตั้งแต่เด็ก ๆ อายุเพียง 7-8 ขวบ พร้อมกับพี่ชายฝาแฝด และเป็นข้าหลวง ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต แต่ต่อมาได้ลาออกจากราชการเพื่อไปศึกษาต่อด้านรัฐศาสตร์ ที่ประเทศฝรั่งเศส
พลโทประยูร ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น พลโทประยูร ได้เข้าร่วมด้วย ด้วยถือเป็นคณะราษฎรสายพลเรือน โดยถือเป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองคู่กับนายปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เนื่องจากไปศึกษายัง ณ ประเทศฝรั่งเศสเหมือนกัน จึงถือได้ว่าเป็นคณะราษฎรคู่แรกก็ว่าได้
โดยก่อนจะเดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศส พลโทประยูรได้ทำการรักษาตัวจากวัณโรคจนหายดีแล้วจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนที่จะเดินทางไปสู่กรุงปารีส ซึ่งเป็นเมืองที่จะเข้ารับการศึกษา ได้แวะเดินทางเข้าสู่เมืองลียงเพื่อพบกับ นายควง อภัยวงศ์ หรือหลวงโกวิทอภัยวงศ์ เพื่อนนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศส เพื่อที่นายควงจะแนะนำพลโทประยูรให้รู้จักกับนายปรีดีโดยจดหมายแนะนำตัว เพราะนายปรีดีขณะนั้นเป็นเสมือนผู้นำของนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศส ทั้งคู่จึงได้รู้จักกันและคบหากันจนสนิทสนมกันในที่สุด อีกทั้งในการประชุมครั้งแรกของคณะราษฎร ที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอมเมอราร์ด กรุงปารีส ที่ติดต่อกันนานถึง 4 คืน 5 วัน ในต้นปี พ.ศ. 2470 นั้นก็เป็นบ้านพักของพลโทประยูรเอง และเริ่มต้นการประชุมในวันครบรอบวันเกิดปีที่ 30 ของพลโทประยูรอีกด้วย
ในระหว่างที่คณะราษฎรทั้งหมดได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทย พลโทประยูร ยังได้เป็นผู้ที่ชักชวนและประสานกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่และบุคคลอื่น ๆ ให้มาเข้าร่วมด้วยกับคณะราษฎร และเมื่อมีการวางแผนการปฏิวัติ ทั้งหมดก็ได้หารือแผนการทั้งหมดที่บ้านพักของ พลโทประยูรบ้าง และบ้านพักของพระยาทรงสุรเดชบ้าง สลับกันไป โดยในเช้าวันที่ทำการเปลี่ยนแปลงนั้น พลโทประยูรรับหน้าที่ตัดสายโทรศัพท์และสายโทรเลข ที่สำนักงานใหญ่กรมไปรษณีย์โทรเลข เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งพระนคร โดยปฏิบัติการคู่กับนายควง อภัยวงศ์ ในฐานะที่ทั้งคู่รับราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข จึงถือเป็นผู้เชี่ยวชาญ โดยเริ่มกันตั้งแต่เวลา 04.00 น. และต้องให้เสร็จทันในเวลา 05.00 น. ท่ามกลางการคุ้มครองของทหารเรือและพลเรือนกลุ่มหนึ่งของคณะราษฎรราว 10 คนเท่านั้น และจากนั้น พลโทประยูร ยังเป็นผู้ทำการควบคุมองค์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเสด็จจากวังบางขุนพรหมในฐานะองค์ประกัน ภายใต้การควบคุมของ พันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ ให้เข้าประทับยังพระที่นั่งอนันตสมาคมด้วย ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงมีปฏิสันธานบางประการกับ พลโทประยูรด้วยถึงการกระทำในครั้งนี้
จากนั้น พลโทประยูร ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการราษฎรและยังได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ในเวลาต่อมาอีกหลายกระทรวงด้วยกัน
ในเหตุการณ์ที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา มีความเห็นแย้งเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจที่นำเสนอโดย หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ซึ่งทำให้พระยามโนปกรณ์ ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีปิดรัฐสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 นั้น มีสมาชิกคณะราษฎรสนับสนุนพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เช่น พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ มีชื่อของ พลโทประยูร ร่วมอยู่ด้วย
ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม • เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • ทวี บุณยเกตุ • อดุล อดุลเดชจรัส • หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) • พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) • แสง สุทธิพงศ์ • ประจวบ บุนนาค • เล็ก สุมิตร • พระยาบริรักษ์เวชชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์) • ประยูร ภมรมนตรี • ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี • เฉลิม พรมมาส • พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) • ประเสริฐ รุจิรวงศ์ • อุดม โปษะกฤษณะ • คล้าย ละอองมณี • ประชุม รัตนเพียร • สวัสดิ์ คำประกอบ • ทวี จุลละทรัพย์ • ยงยุทธ สัจจวาณิชย์ • บุญสม มาร์ติน • เสม พริ้งพวงแก้ว • ทองหยด จิตตวีระ • มารุต บุนนาค • เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ • ชาติชาย ชุณหะวัณ • ชวน หลีกภัย • ประจวบ ไชยสาส์น • ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ • ไพโรจน์ นิงสานนท์ • บุญพันธ์ แขวัฒนะ • อาทิตย์ อุไรรัตน์ • เสนาะ เทียนทอง • มนตรี พงษ์พานิช • สมศักดิ์ เทพสุทิน • รักเกียรติ สุขธนะ • กร ทัพพะรังสี • สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ • สุชัย เจริญรัตนกุล • พินิจ จารุสมบัติ • มงคล ณ สงขลา • ไชยา สะสมทรัพย์ • ชวรัตน์ ชาญวีรกูล • เฉลิม อยู่บำรุง • วิทยา แก้วภราดัย • จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ • วิทยา บุรณศิริ • ประดิษฐ สินธวณรงค์ • รัชตะ รัชตะนาวิน • ปิยะสกล สกลสัตยาทร